วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

CSS - รู้จัก HTML


ปัจจุบัน HTML ได้พัฒนาขีดความสามารถในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ
1. HTML เป็นภาษามาร์คอัพมาตรฐานที่ถูกกำหนด เพื่อให้เวบบราวเซอร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาขึ้นสามารถสนับสนุนการทำงานของ HTML ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. HTML ถูกออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกับแอพพลิเคขั่น และโปรโตคอลของภาษา XML
3. HTML สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดจากการกำหนดแท็กคำสั่ง และแจ้งเตือน เหมือนคุณสมบัติหนึ่งของ XML
4. HTML สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ไร้สาย และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังมีเครื่องพิเศษช่วยให้เวบได้กับบราวเซอร์รุ่นเก่าได้อีกด้วย
5. HTML ช่วยให้นักพัฒนาเวบไม่ต้องกังวลกับการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน เนื่องจากนักพัฒนาเวบสามารถจัดรูปแบบการนำเสนอด้วย CSS ได้
แท็กคำสั่ง HTML ใหม่ๆ
1. แท็ก <code>
     ใช้แสดงผลโค้ดคำสั่งของคอมพิวเตอร์
      html01.htm
      <p>
      <code>
      # open the listing file<br/> unless (open (MYDATA, "data.txt"))<br/> (die "countn't open data file\n")
      </code>
      </p>
       เป็นการกำหนดโค้ดคำสั่งแท็ก <code> แทรกไว้ในแท็ก <p> เพื่อจัดแบ่งโครงสร้างเนื้อหาให้เป็นระเบียบ
2. แท็ก <div>
    หรือเรียกว่า "division" ใช้จัดกลุ่มเนื้อหาหรือขอบเขตของเนื้อหาในลักษณะบล็อก นิยมใช้คูกับ CSS เพื่อกำหนดการแสดงผลแบบกลุ่ม และสามารถแทรกข้อความแบบขีดเส้นใต้ พารากราฟ และสัญญลักษณ์ (bullet) ภายในบล็อกได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นวิธีจัดแบ่งโครงสร้างส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นพื้นที่เวบ คือช่วยเวบเพจบรรจุรายละเอียดต่างๆ ได้สวยงามมากขึ้น เช่น branner, footer และ sidebar
      html02.htm
      <div>
           <p>รายชื่อหนังสือ</p>
           <ul type "square">
                <li>เทคโนโลยีเชิงวัตถุ</li>
                <li>Web Programming ด้วย Dramweaver CS3, PHP และ AJAX </li>
                <li>การออกแบบ พัฒนา และดูแลระบบฐานข้อมูล</li>
                <li>PHP</li>
                <li>โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม</li>
            </lu>
3. แท็ก <span>
     ใช้จัดกลุ่มเนื้อหาในพารากราฟไม่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจากนี้ยังสามารถแทรกแท็ก <a> เชื่อมโยงข้อความในพารากราฟ หรือแท็ก <storng> เน้นคำหรือข้อความ
      html03.htm
      <span style="color:#90c">
      <storng>หนังสือออกใหม่</storng>
      <a href="www.ktpbook.com">เทคโนโลยีเชิงวัตถุ</a></span>
แท็ก HTML ที่ถูกลืม
1. แท็ก <font> ใช้แสดงผลควบคุมการแสดงผลข้อความ
2. แท็ก <b> ใช้แสดงผลตัวหนา ถูกแทนที่ด้วย <storng> ใน CSS และ <i> ใช้แสดงตัวเอียง ถูกแทนที่ด้วย <em> ใน CSS
3. แท็ก <table> ใช้สร้างตารางบนเวบเพจ ใช้ CSS กำหนด layout แทน เพื่อการโหลดเวบที่รวดเร็ว และโครงสร้างคำสั่งไม่ซับซ้อน
4. แท็ก <body>ใช้บรรจุ element และเนื้อหาต่างๆ บนเวบ ใช้ CSS กำหนดแอททริบิ้วต่างๆ ให้กับเนื้อหาบนเวบเพจ เช่น background, bgcolor, text, link, alink, vlink, left-margin, top-margin, margin-width และ margin-height
5. แท็ก <br/> ใช้ขึ้นบรรดทัดใหม่ให้กับข้อความ โดยไม่มีการสร้างพารากราฟใหม่ ใช้ CSS ควบคุม margin
เทคนิคการใช้งาน HTML
1. เวบเพจแต่ละหน้าควรใช้ <h1> ในการกำหนดหัวข้อเพียงแท็กเดียวเท่านั้น เพราะการกำหนด <h1> จะช่วยให้ search engine อ้างอิงไปยัง element ต่างๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น
2. การกำหนดหัวข้อให้กับเวบเพจมีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนแสดงถึงเนื้อหาของเวบ ต้องกำหนดหัวข้อให้สัมพันธ์กับเนื้อหาของเวบให้มากที่สุด <h1> และกำหนดหัวข้อลำดับถัดไป <h2> เป็นต้น
3. ใช้แท็ก <p> จัดข้อความในพารากราฟ
4. ใช้แท็ก <ul> แสดงผลข้อมูลแบบไม่เรียงลำดับ โดยใช้สัญญลักษณ์ในการกำหนดรายการ
5. ใช้แท็ก <ol> แสดงผลข้อมูลแบบเรียงลำดับ โดยใช้ตัวเลขในการเรียงลำดับ
6. สร้างอภิธานศัพท์ (Glossary) ประกอบด้วย คำศัพท์ (term) นิยาม (Definition) หรือคำอธิบาย (Description) โดยใช้ <dl> กำหนดรายชื่อนิยามของคำศัพท์ โดยใช้ร่วมกับแท็ก <dt> ใช้กำหนดนิยาม และแท็ก <dd>ใช้กำหนดคำอธิบายศัพท์
7. การใส่ Quotation Link ให้กับข้อความเพื่อเชื่อมโยงไปยังเวบไซต์อื่น และต้องใช้แท็ก <blockquote> สำหรับข้อความยาวมากๆ แต่หากไม่เกิน 1 บรรทัด สามารถใช้แท็ก <q> ได้เลย
8. ใช้แท็ก <cite> เพื่อกำหนดข้อมูลที่ใช้อ้างอิงชื่อหนังสือ, บทความหนังสือพิมพ์ หรือเวบไซต์และใช้แท็ก <address> เพื่อระบุข้อมูลที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ข้อมูลผู้พัฒนาเวบ หรือข้อมูลลิขสิทธิ์
9. ใช้แท็ก HTML และ CSS เพื่อควบคุมการแสดงผลข้อความหรือภาพบนเวบเพจ
10. หากไม่กำหนดแท็ก HTML บนเวบ ให้แท็ก <div> และ <span> ก็ได้
11. สร้าง Navigation bar โดยใช้แท็ก <div> สร้างรายชื่อลิงค์เชื่อมโยงไปยังส่วนที่ต้องการ ใช้แท็ <ul> เพื่อแสดงสัญญลักษณ์ไว้หน้ารายชื่อลิงค์
12. กำหนดแท็กปิดทุกครั้ง ยกเว้นแท็กเดี่ยว เช่น <br />, <img /> เป็นต้น
13. ตรวจสอบเวบไซต์โดยใช้ W3C Validator เพื่อตรวจสอบแสดงข้อผิดพลาดของเวบให้เราทราบ
ความสำคัญ Doctype
Doctype หรือ Document Type Definition (DTD) เป็นตัวกำหนดโครงสร้างของเวบเพจ เพื่อบอกให้เวบบราวเซอร์ทราบว่า เวบเพจสร้างขึ้นใช้ภาษาและคำสั่งของ HTML รุ่นใด ชนิดใด หากต้องการแสดงผลเวบได้อย่างถูกต้อง เราต้องประกาศ Doctype ในส่วนเริ่มต้นของเพจ หรือกำหนดไว้ที่บรรทัดแรกของเอกสาร
HTML สามารถประกาศ Doctype ได้ 3 ลักษณะ คือ
1. Transitional ประกาศให้บราวเซอร์เวอร์ชั่นเก่าเข้าใจภาษา HTML เพราะอาจมีบางแท็กไม่สามารถแสดงผลกับบราวเซอร์เวอร์ชั่นเก่าได้
2. Strict ประกาศเพื่อให้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของไวยกรณ์ตามโครงสร้างของ XML  และกำหนดให้จัดรูปแบบนำเสนอด้วย CSS ในเอกสาร HTML จะใช้เป็นเวอร์ชั่น 4.01
3. Frameset ประกาศให้รู้ว่าเอกสารนี้ใช้ <frameset> ในการแบ่งหน้าต่างของบราวเซอร์เป็นเฟรมย่อย โดยเอกสารที่จะประกาศจะเป็น HTML 4.01 Frameset

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

CSS - Spacial


การเพิ่มลูกเล่นพิเศษ
คือการแสดงผลแท็กที่มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบธรรมดา หรือซ่อนแท็ก หรือเปลี่ยนตัวชี้เมาส์แท็ก
display:
กำหนดรูปแบบการแสดงผล ค่าที่กำหนดได้มีดังนี้
ค่า 
ความหมาย
none
ซ่อนแท็กนั้น
block
แสดงแท็กแบบเป็นบล็อก คือจะขึ้นบรรทัดใหม่ทั้งก่อนเริ่มแท็กและหลังจบแท็ก
inline
แสดงแท็กเหมือนอยู่ในบรรทัดเดียวกัน คือ ไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ทั้งก่อนเริ่มแท็กและหลังจบแท็ก
list-item                    
แสดงแท็กเป็นรายการ คือเปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <il>
run-in
แสดงแท็กแบบ block หรือ in-line ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
compact
แสดงแท็กแบบ block หรือ in-line ขึ้นกับสภาพแวดล้อม
table
แสดงแท็กแบบเป็นตาราง คือเปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <table>
inline-table
แสดงแท็กนั้นแบบเป็นเป็นตาราง คือเปลี่ยนแท็กนั้นให้แสดงผลเป็นแบบตาราง แต่ไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ทั้งก่อนเริ่มแท็กและหลังจบแท็ก
table-row-group
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <tbody>
table-header-group
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <thead>
table-footer-group
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <tfoot>
table-row                 
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <tr>
table-column-group
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <colgroup>
table-column           
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <col>
table-cell                 
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <td> และ <th>
table-caption         
เปลี่ยนแท็กให้แสดงผลเหมือนแท็ก <caption>
specific01.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     p { display:inline }
     div { display:none }
     li { display:inline }
     a { width:6em; padding:0.2em 0.6em; text-decoration:none; color:white; background-color:purple; border-right;1px solid white }
     a:hover {background-color:#ff3300}
</style></head>
<body>
     <p>A display property </p>
     <p>with a value of "inline".</p>
     <div>A display property with a value of "none".</div>

    <ul>
         <li><a href="#">Link one</a></li>
         <li><a href="#">Link two</a></li>
         <li><a href="#">Link three</a></li>
         <li><a href="#">Link four</a></li>
     </ul>
</body></html>
จากภาพ สีที่แตกต่างคือสีที่เอาเมาส์ไปวางค่ะ ^^
float:
ใช้กำหนดข้อความหรือภาพให้ลอยอยู่เหนือวัตถุอื่น โดยวัตถุจะลอยไม่บังข้อมูลที่ด้านล่าง เพราะข้อมูลเมื่อถึงขอบเขตพื้นที่วัตถุลอยอยู่ จะเลี่ยงขึ้นบรรทัดใหม่ทันที ค่าที่กำหนดได้ คือ left (ให้วัตถุลอยไปทางซ้าย), right (ให้วัตถุลอยอยู่ข้างขวา), none (วัตถุไม่ลอยเลย ให้แสดงผลก่อนหลังเหมือนปกติ)
specific02.htm
<html><head>
<style type="text/css">
 div { float:right; margin:0px 0px 20px 20px; padding:15px; border:1px solid black; text-align:center;}
</style></head>
<body>
     <div>
          <img scr="picture/img003.gif" width="100" height="80"><br>Thailand</div>
          <p>
          Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
           </p>
</body></html>
clear:
เป็นคุณสมบัติไม่ให้วัตถุลอย (floating element) กำหนดค่าได้ดังนี้ left (ไม่อนุญาติให้ลอยทางด้านซ้าย), right (ไม่อนุญาติลอยทางด้านขวา), both (ไม่อนุญาติให้ลอยทั้ง 2 ด้าน) และ none (อนุญาติให้ลอยได้ทั้ง 2 ด้าน)
specific03.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     span {float:left; width:0.7em; font-size:400%; font-family:algerian, courier;}
</style>
</head><body>
     <span>T</span><p>hailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
      Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
       Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
       Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
       Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful.
       Thailand is so beautiful.
       </p>
      <span>T</span><p style="clear:left">hailand is so beautiful.
      Thailand is so beautiful. Thailand is so beautiful. Thailand is
      so beautiful.  Thailand is so beautiful. Thailand is so
      beautiful.
      </p>
</body></html>
visibility:
ใช้ซ่อนหรือแสดงข้อมูล ค่าที่เป็นไปได้คือ visible (แสดงข้อมูลปกติ), hidden (ซ่อนข้อมูล ต่างจาก display:none คือ display:none จะไม่แสดงแท็กนั้นเลย แต่ visibility:hidden จะแสดงแท็กนั้น แต่เราจะเห็นเป็นพื้นที่ว่าง), collapse (ยุบข้อมูล จะใช้กับแถวหรือคอลัมน์ในตาราง คือถ้าแถวหรือคอลัมน์ไม่มีข้อมูล ก็จะถูกยุบหายไป แต่ถ้ามีข้อมูลก็จะแสดงผลปกติ
specific04.htm
<table><col width="130">
     <tr><td colspan="2">Choose "display:none"</td></tr>
     <tr style="display:none"><td>none</td><td>none</td></tr>
     <tr><td colspan="2">Choose "visibility:hidden"</td></tr>
     <tr style="visibility:hidden"><td>hidden</td><td>hidden</td></tr>

     <tr><td colspan="2">Choose "visibility:collapse"</td></tr>
     <tr style="visibility:collapse"><td></td><td></td></tr>
     <tr style="visibility:collapse"><td></td><td>collapse</td></tr>
     <tr style="visibility:collapse"><td>collapse</td><td>collapse</td></tr>
     </table>
จากตัวอย่าง บรรทัดที่หายไป ใช้ display:none ถ้าใช้ "visibility:hidden" จะยังเห็นแถวแต่ไม่เห็นข้อมูล ถ้าใช้ "visibility:collapse" ใน 3 แถวสุดท้ายจะเพียงแถวเดียวที่หายไป คือแถวที่ไม่มีข้อมูล
cursor:
ใช้เปลียนตัวชี้เมาส์ให้เป็นรูปต่างๆ ดังนี้คือ default, auto, crosshair, pointer, move, e-resize, ne-resize, nw-resize, n-resize, se-resize, sw-resize, s-resize, w-resize, text, wait และ help
specific05.htm
<span style="cursor:auto">Auto</span><br>
<span style="cursor:crosshair">Crosshair</span><br>
<span style="cursor:default">Default</span><br>
<span style="cursor:pointer">Pointrt</span><br>
<span style="cursor:move">Move</span><br>
<span style="cursor:e-resize">e-resize</span><br>
<span style="cursor:ne-resize">ne-resize</span><br>
<span style="cursor:nw-resize">nw-resize</span><br>
<span style="cursor:n-resize">n-resize</span><br>
<span style="cursor:se-resize">se-resize</span><br>
<span style="cursor:sw-resize">sw-resize</span><br>
<span style="cursor:s-resize">s-resize</span><br>
<span style="cursor:w-resize">w-resize</span><br>
<span style="cursor:text">text</span><br>
<span style="cursor:wait">wait</span><br>
<span style="cursor:help">help</span><br>
จากภาพหากเอาเมาส์ไปวางตามตัวอักษรข้างบน รูปของเมาส์ก็จะเปลี่ยนไปตามความหมายของแต่ละคำค่ะ ^^

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

CSS - Size&Position


การกำหนดขนาดและตำแหน่ง
เราสามารถวางเนื้อหาแบบระบุตำแหน่งเจาะจง หรือกำหนดขนาดความกว้างของเนื้อหา โดยใช้คุณสมบัติดังต่อไปนี้
width และ height:
ใช้กำหนดความกว้างและความยาวของตาราง กรอบข้อความ รูปภาพ และแท็ก HTML อื่นๆ มีค่าที่กำหนดได้ คือ auto (ให้บราวเซอร์กำหนดค่าที่เหมาะสมให้), % (กำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบจากขนาดของแท็กพ่อ) หรือกำหนดเป็นตัวเลขเจาะจง เช่น 10px, 1cm
รูปแบบ__ img {width:450px; height:230px}
max-width และ max-height:
กำหนดค่าความกว้าง ความสูงที่มากที่สุดของแท็ก HTML ใช้ในกรณีข้อมูลภายในแท็ก HTML ที่มีการเปลี่ยน ทำให้ขนาดแท็กไม่คงที่ และต้องการกำหนดแท็กให้ไม่ขยายโตเกินขนาดที่กำหนดไว้ ค่ากำหนดได้ คือ none (ไม่จำกัดขนาด/โตได้ไม่สิ้นสุด), % (กำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบจากขนาดของแท็กพ่อ) หรือกำหนดค่าเป็นตัวเลขเจาะจง เช่น 10px, 1cm
รูปแบบ__ p {max-height:1500px}
min-width และ min-height:
ใช้กำหนดค่าความกว้าง ความสูงที่น้อยที่สุดของแท็ก HTML ใช้กรณีที่ต้องการกำหนดขนาดเล็กที่สุดของแท็ก HTML เพื่อไม่ให้แท็กมีขนาดเล็กเกินไป ค่าที่กำหนดได้ คือ % (กำหนดค่าเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบจากขนาดของแท็กพ่อ) หรือกำหนดค่าตัวเลขเจาะจง เช่น 10px, 1 cm
รูปแบบ__ p {min-height:200px}
line-height:
กำหดระยะห่างระหว่างบรรทัด มีค่าที่เป็นไปได้ คือ normal (ตั้งค่าตามปกติ), จำนวนเท่า (เช่น 1.4 เท่าของฟอนต์ในเวลานั้น), จำนวนเปอร์เซ็นต์ (เช่น 140% เทียบเท่ากับขนาดฟอนต์ในเวลานั้น) หรือกำหนดเป็นตัวเลขเจาะจง เช่น 10px, 1cm
รูปแบบ__ p {line-height:1.4}
                  p {line-height:14pt}
                  p {line-height:140%}
position01.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     p.small {line-height:0.4cm; width:250px}
     p.big {line-height:0.9cm; width:500px}
</style></head>
<body>
     <p>
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     </p>
     <p calss="small">
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     </p>
     <p class="big">
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     This is a paragraph with a standard line-height.
     </p>
</body></html>
position:
กำหนดตำแหน่งของแท็ก กำหนดได้ 3 รูปแบบ คือ
static - แสดงในตำแหน่งที่ควรแสดง คุณสมบัตินี้ใช้ร่วมกับ left และ top ไม่ได้
relative - แสดงแท็กให้เลื่อนออกจากตำแหน่งที่ควรแสดง โดยใช้ร่วมกับ left และ top เพื่อระบุระยะที่จะเลื่อนออกไป
absolute - แสดงแท็กในตำแหน่งใดๆ ก็ได้ตามต้องการ โดยอ้างอิงจากบนซ้ายของเอกสาร HTML
position02.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     h2.pos_left {position:relative; left:20px}
     h2.pos_right {position:relative; left:20px}
     h2.pos_abs {position:absolute; left:100px; top:150px; color:red}
</style>
</head><body>
     <h2 class="pos_abs">This is absolute position</h2>
     <h2> This ia normal position</h2>
     <h2 class="pos_left">This heading is moved left to its normal position</h2>
     <h2 class="pos_right">This heading is moved right to its normal position</h2>
</body></html>
left, top, right และ bottom:
ใช้ร่วมกับ position เพื่อกำหนดตำแหน่ง โดยนับจากขอบแต่ละด้านเข้าไปตามค่าที่กำหนดไว้ ค่าที่เป็นไปได้ คือ auto (ให้บราวเซอร์กำหนดค่าที่เหมาะสมให้), % (กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับแท็กพ่อ) หรือกำหนดค่าเจาะจง เช่น 20px
clip:
ใช้ตัดเนื้อหาบางส่วนออกไป มีผลทำให้เนื้อหาส่วนนั้นแสดงออกมาไม่ทั้งหมด แสดงให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น คือ แสดงผลเฉพาะส่วนที่อนุญาติให้เห็นเท่านั้น และคุณสมบัตินี้ใช้ร่วมกับ position:absolute เสมอ และตัดเนื้อหาได้ในรูปทรงสี่เหลี่ยมเท่านั้น (clip:rect)
position03.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     img.clip {position:absolute; clip:rect(0px 150px 70px 50px)}
</style>
</head><body>
     <p>The original imgage is not clip:</p>
     <p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="157" height="88"></p>
     <p>The clip property is here cutting an image</p>
     <p><img class="clip" border="0" scr="img001.jpg" width="157" height="88"></p>
</body></html>
overflow:
ใช้จำกัดขอบเขตข้อมูลคล้าย clip คือตัดบางส่วนออกได้ แต่สามารถดูข้อมูลที่ถูกตัดออกได้โดยการใช้ scrollbar เพื่อเลื่อนดูข้อมูลที่ซ่อนอยู่ ค่าที่เป็นไปได้คือ
visible - แสดงข้อมูลทั้งหมด แม้ข้อมูลจะใหญ่กว่าขอบเขตที่กำหนดไว้
hidden - แสดงข้อมูลในขอบเขตที่กำหนดเท่านั้น ส่วนที่เกินจากนี้จะไม่แสดงให้เห็น
scroll - แสดงข้อมูลเหมือน hidden แต่จะมี scrollbar เพิ่มขึ้นมา เพื่อใช้ดูข้อมูลส่วนที่ซ่อนอยู่
auto - ปรับแบบอัตโนมัติ คือ ถ้าข้อมูลใหญ่กว่าขอบเขต จะไม่แสดงส่วนที่เกินแต่จะแสดง scrollbar ให้
position04.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     p.over {width:120px; height:90px; overfloe:scroll }
</style>
</head><body>
     <p>The original image is not overflow:</p>
     <p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="157" height="88"></p>
     <p>The overflow property is here cutting an image, but you can scroll it:</p>
    <p class="over"><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="157" height="88"></p>
</body></html>
จากตัวอย่างภาพที่ 2 มีการกั้นเขตด้วยคุณสมบัติ over flow ส่วนที่เลยนั้นสามารถดูได้โดยเลื่อนแถบ scrollbar
vertical-align:
คุณสมบัติที่มช้จัดเรียงข้อมูลในแนวตั้ง ดังตาราง
ค่า               ความหมาย
baseline      จัดในตำแหน่งเส้นฐานเดียวกับแท็กพ่อ
sub              จัดเรียงเป็นตัวห้อย
super          จัดเรียงเป็นตัวยก
top              จัดเรียงชิดขอบด้านบนของวัตถุที่มีขอบสูงที่สุดในแถว
text-top     จัดเรียงชิดขอบด้านบนของตัวอักษรในแท็กพ่อ
middle          จัดเรียงที่จุดกึ่งกลางของตัวอักษรในแท็กพ่อ
bottom        จัดเรียงชิดขอบด้านล่างของวัตถุที่ขอบล่างต่ำสุดในแถว
text-bottom จัดเรียงชิดขอบล่างของตัวอักษรในแท็กพ่อ
length          กำหนดเป็นค่าตัวเลขเจาะจง เช่น 25px, 10in
%                   กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับค่าในคุณสมบัติ line-height
position05.htm
<p>This is <b style="vertical-align:baseline">baseline.</b></p>
<p>This is <b style="vertical-align:sub">subscript.</b></p>
<p>This is<b style="vertical-align:super">superscript,</b></p>
<p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="60" height="32">This is<b style="vertical-align:top; font-size:120%">top.</b></p>
<p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="60" height="32">This is<b style="vertical-align:text-top; font-size:120%">text-top</b></p>
<p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="60" height="32">This is<b style="vertical-align:middle; font-size:150%>middle.</b></p>
<p><img border="0" scr="picture/img001.jpg width="60" height="32" style="vertical-align:text-top">This is<b style="vertical-align:bottom; font-size:120%>bottom.</b></p>
<p><img border="0" scr="picture/img001.jpg" width="60" higth="32" style="vertical-align:text-top">This is <b style="vertical-align:text-bottom; font-size:120%">text-bottom.</b></p>
z-index:
ใช้จัดลำดับชั้นของข้อมูล โดยกำหนดค่าเป็นแนว Z ซึ่งจะทำให้ข้อมูลมีการซ้อนทับกัน สำหรับค่าที่กำหนดได้คือ auto (กำหนดค่าแกน Z ให้เท่ากับแท็กพ่อ และกำหนดค่าแกน Z เป็นตัวเลขบวกลบ โดยค่าบวกจะได้ข้อมูลซ้อนอยู่ด้านบน ส่วนค่าลบจะซ้อนอยู่ด้านล่าง คุณสมบัติ z-index ต้องใช้ร่วมกับคุณสมบัติ position:absolute เสมอ
positiono6.htm
<html><head>
<style type="text/css">
     img.x1 {position:absolute; left:0px; top:40px; z-index:-1}
     img.x2 {position:absolute; lefy:110px; top:40px; z-index:1 }
</style>
</head><body>
     <p>Default z-index is 0. Z-index -1 has lower priority. Z-index 1 has higher priority.</p>
     <h1>This is a Heading</h>
     <img class="x1" scr="picture/img002.gif" width="64" height="64">
     <img class="x2" scr="picture/img002.gif" width="64" height="64">
</body></html>