วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

CSS - รู้จัก Cascading Style Sheet หรือ CSS


Cascading Style Sheet หรือ CSS คือ รูปแบบที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มความสามารถในการแสดงผลได้มากขึ้น มากกว่าการใช้ HTML เพียงอย่างเดียว ปกติเราจะใช้ CSS กำหนดลักษณะการแสดงผล การเล่นสี การจัดเรียง

CSS เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งของการทำ DHTML โดยมากจะใช้ CSS ร่วมกับ JavaScript เสมอ เพื่อสร้างลูกเล่นแปลกๆ ใหม่ๆ ให้กับหน้าเวบ

การใช้ CSS จะทำให้เวบมีมาตราฐาน เพราะ CSS สร้างสไตล์ล่วงหน้าได้ และทุกหัวข้อที่นำสไตล์ไปใช้ จะมีลักษณะการแสดงผลเหมือนๆ กัน และถ้ามีการแก้ไขสไตล์ การแสดงผลในหัวข้อทุกหัวข้อจะเปลี่ยนไปตามสไตล์ที่แก้ไข
ตำแหน่งในการกำหนดสไตล์ชีต
การกำหนดสไตล์ชีตแบบ Embedding
เป็นการกำหนดแบบฝังไว้ในไฟล์โค้ด HTML สามารถกำหนดไว้ในส่วนต่างๆ ได้ดังนี้
1. ส่วนหัว (head)
    <head>
        <style>
             font {color:blue;font-size:16;font-family:AngsanaUPC;}
              button {width:150;color:#ff0000;background-color:#999900}
         </style>
      </head>
2. ส่วนเอกสาร (body)
    <body>
        <style>
            font {color:bule;font-size:16;font-family:AngsanaUPC,LilyUPC,IrisUPC;}
            button {width:150;color:#ff0000;background-color:#999900}
        </style>
    </body>
3. ในสคริปต์ เช่น ใช้กับ JavaScript
     <head>
         <script language="JavaScript">
             document.write("<font style=color:blue;font-family:AngsanaUPC>");
             document.write("Hello, world.</font><br>");
         </script>
     </head>
4. ในแท็กแบบ Inline
     <body style="color:blue;font-size:16;font-family:AngsanaUPC">
        <button style="width:150;color:#ff0000">Click Me!</button>
    </body>
กำหนดสไตล์ชีตแบบ Linking
เป็นการกำหนดไว้ในไฟล์หนึ่ง ซึ่งเป็นไฟล์กลาง และเป็นไฟล์ที่มีส่วนขยายมีนามสกุล .CSS ส่วนในไฟล์ HTML จะมีการใช้แท็ก <link> เพื่อเชืรอมโยงหรืออ้างถึงไฟล์สไตล์ชีตอีกทีหนึ่ง... ตัวอย่าง
ไฟล์สไตล์ชีตชื่อ style01.css
<style type="text/css">
    font {color:blue;font-size:26;font-family:LilyUPC,IrisUPC}
    button {width:150;color:#ff0000;backgroup-color:#990099}
    span {color:#ff00ff;font-size:90;font-family:LilyUPC,IrisUPC}
</style>
ไฟล์ HTML ชื่อ stylesheet_link.html
<html><head>
   <link href="style01.css" rel="stylesheet" type="text/css">
</head><body>
   <span>Hello, world!</span><br>
   <font><input type="text" value="DHTML is easy."><br><button>GO</button></font>
</body></html>


การกำหนดสไตล์ชีตแบบ Import
เป็นการกำหนดสไตล์ชีตแยกไว้ตามหากจากไฟล์ HTML โดยไฟล์ HTML จะดึงข้อกำหนดเหล่านี้มาใช้ด้วยคำสั่ง @import ซึ่งมีวิธีการกำหนดสไตล์ชีตแบบ link ต่างกันแค่วิธีการ @import ในไฟล์ HTML ต้องสร้างแท็ก <style>...</style> ไว้รองรับ และยังสามารถกำหนดสไตล์เฉพาะที่ใช้ในเพจนี้เพิ่มได้ตามต้องการอีกด้วย... ตัวอย่าง
<html><head>
   <style>
       @import URL(style01.css); <!-- สามารถนำเข้าได้มากกว่า 1 ไฟล์ได้ เช่น เพิ่ม @import URL(style02.css); -->
       div {font-weigth:border} <-- เป็นส่วนกำหนดเพิ่มเติมหากต้องการเพิ่มสไตล์ในส่วนที่ @import เข้ามาไม่มี -->
       table {background-color:gray;color:back}
   </style>
</head><body>
   <span>Hello, world!!!</span><br>
   <font><input type="text" value="DHTML is easy."><br><button>GO</button></font>
    <div>This is my c0ntent.</div>
</body></html>

Update: 10 มค. 12

OS - คีย์ลัดสำหรับ Windows 7


?win+ลูกศรขึ้น, ?win+ลูกศรลง
ขยายขนาดของหน้าต่างในแนวนอนให้เต็มจอและย่อขนาดลงเท่าเดิม
?win+ลูกศรซ้าย, ?win+ลูกศรขวา
กำหนดตำแหน่งแสดงผลทางซ้ายหรือขวาของหน้าจอ
?win+shift+ลูกศรขึ้น, ?win+shift+ลูกศรลง
ขยายขนาดหน้าต่างในแนวตั้งให้เต็มหน้าจอหรือย่อลงมาเท่าเดิม
win+P
เลือกการแสดงผลระหว่างจอคอมพ์กับโปรเจ็กเตอร์
win+X
กำหนดการแสดงผลเฉพาะพรีเซนเตชั่น
win+home
ย่อหน้าต่างอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้งานลงอัตโนมัติ
win+shift+ลูกศรซ้ายหรือขวา
เพื่อเลื่อนการแสดงผลหน้าจอไปยังมอนิเตอร์ที่ต้องการ
win+ตัวเลข
เรียกใช้ แอพลิเคชั่นลำดับตัวเลขนั้นๆ ขึ้นมา
win+space
ทำให้มองทะลุหน้าจอได้
win+T
เรียกแอพลิเคชั่นที่เปิดไว้บนทาสก์บาร์ เป็นการเลือกเป็นกลุ่มแอพลิเคชั่นที่เราเปิดทิ้งไว้
win++
ขยายภาพทั้งหมดของหน้าจอ เหมือนการซูมภาพ
win+-?
ย่อกลับสู่โหมดการแสดงผลปกติ
win+G
เรียกใช้ gadget อย่างรวดเร็ว
Alt เป็นคีย์อเนกประสงค์ที่ใช้กับ Explorerใน windows 7 เช่น
Alt+UP
กระโดดไปยังโฟล์เดอร์แรกสุดคือ Desktop หรือไปยังโฟล์เดอร์รูทนั้นๆ
Alt+Right
ไล่สเต็ปไปยังโฟล์เดอร์ที่เปิดขึ้นมาล่าสุด
Alt+Left
ย้อนกลับไปโฟล์เดอร์ก่อนหน้า
Alt+D
เป็นการทำงานกับแอดเดรสบาร์ของพาธการทำงานปัจจุบัน
F4
เป็นการเรียกใช้งาน drop down menu ของแอดเดรสบาร์
Alt+enter
เป็นการเรียก properties ของไฟล์ที่เคอร์เซอร์เลือกอยู่ในขณะนั้น
Ctrl+mousewheel
เป็นการเปลี่ยนขนาดของไอคอนใน explorer
F11
เป็นการเปลี่ยนโหมดของ explorer ให้ทำงานในโหมด full screen

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

CSS - รู้จัก DHTML


Dynamic HTML คือ รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เวบดูดีมีลูกเล่นและน่าสนใจมากขึ้น
Dynamic HTML มี 2 ส่วน คือ Static (คงที่) ใช้ HTML สร้างส่วนนี้ และส่วน Dynamic (เปลี่ยนแปลง) ใช้เทคโนโลยีช่วยในการสร้างได้ เช่น เทคโนโลยีฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side Script) เช่น ASP (Active Server Pages), PHP (Personal Home Page), JPS (JavaServer Pages)  และเทคโนโลยีฝั่งไคลแอนท์ (Client-Side Script) เช่น VBScript, JavaScript
Dynamic HTML หรือ DHTML คือ ส่วนเพิ่มเติมที่ช่วยให้ HTML ดูไม่น่าเบื่อ ตัวช่วยคือ JavaScript, VBScript, CSS (Cascading Style Sheet)
โครงสร้างของ DHTML มี 3 ชั้น คือ
1. เนื้อหา (Content) ใช้ HTML ในการนำเสนอเนื้อหาในหน้าเวบ เช่น ข้อความ, ภาพ, เสียง, วีดีโอ และอื่น ๆ
2.     2. นำเสนอ (Presentation) ใช้ CSS ในการจัดรูปแบบ ตำแหน่ง สี ความสวยงามในการนำเสนอเนื้อหาจาก HTML
3.     3. ปฏิบัติ (Behavior) ใช้ JavaScript หรือ VBScript สร้างการทำงาน การเปลี่ยนแปลง และลูกเล่นให้กับ HTML และ CSS
JavaScript คือ ภาษาจาวาชุดเล็กที่มีการใช้งานง่าย สามารถเขียนลงในไฟล์โค้ด HTML ได้ เป็นตัวช่วยให้เวบเพจมีความสามารถด้านต่างๆ ได้มากขึ้น
CSS หรือ Cascading Style Sheets คือ ภาษาที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลบนหน้าเวบเพจให้มีระเบียบสวยงามมากขึ้น
โครงสร้าง HTML
รูปแบบ
<html>
                <head>
                                <title>ข้อความบนไตเติล (ถ้ามี)</title>
                                <style>กำหนดสไตล์ชีตให้แท็กต่าง ๆ (ถ้ามี)</stlye>
                                <script language=”ชื่อภาษาใช้เขียนสคริปต์”>คำสั่งสคริปต์ (ถ้ามี)</script>
                </head>
                <body>
                                <แท็กต่าง ๆ>…</…>
                </body>
</html>
ใน HTML ไฟล์จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วน head เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของหน้าเวบ เช่น กำหนดภาษาที่ใช้ ชนิดฟอนต์ ขนาดฟอนต์ และอื่นๆ อีกทั้งยังกำหนดแท็ก <title>... </title>, <style>… </style> ใช้กำหนด style sheet, <script language=”ชื่อภาษาใช้เขียนสคริปต์>…</script> ใช้กำหนดภาษาสคริปต์ เช่น JavaScript, VBScript เป็นต้น <meta ข้อกำหนดของเมต้า /> กำหนดชุดตัวอักษรไทยเพื่อใช้กับหน้าเวบ, กำหนดลูกเล่นตอนโหลดหน้าเวบ, ตั้งหน้าเวลาการโหลดหน้าเอกสารซ้ำ (refresh) และส่วน <body>…</body> ใช้แสดงเนื้อหา และองค์ประกอบเวบทั้งหมด
รู้จักกับ tag ใน HTML
มี 2 ชนิด คือ แบบคู่ <tag>....</tag> และแบบเดี่ยว <tag/> แท็กใน HTML จะถูกมองเป็น object เสมอ ดังนั้นแท็กใน HTML 1 หน้าจะประกอบด้วยออบเจ็กต่างๆ มากมายมารวมกัน เช่น ออบเจ็กตาราง (tag <table>) จะเกิดจากออบเจ็กแถว (tag <tr>) และออบเจ็กคอลัมน์ (tag <td>) นำมาประกอบกัน และภายในแท็กจะประกอบ 2 ส่วน คือ คุณสมบัติ (attribute) และเหตุการณ์ (event)
attribute คือ ส่วนขยายของแท็ก ทำให้แท็กมีลักษณะเฉพาะตัวจากแท็กอื่น เช่น <font size=5> ส่วนที่ไม่ได้กำหนดจะมีค่า attribute เริ่มต้น
attribute ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผล เช่น width, hight, color, size หรือ align เป็นต้น
event เป็นส่วนที่ใช้จับเหตุการณ์ที่แท็กหรือออบเจ็กที่สนใจ เช่น on click, ondbclick เช่น <img scr="test.gif" width="200" onclick="this.width="500"> เมื่อมีการคลิกที่แท็ก img จะมีการเปลี่ยนความกว้างของแท็กออบเจ็ก img จาก 200 เป็น 500
HTML event Table
Categogy
Attribute
Description
Mouse
onclick
เกิดเหตุการณ์เมื่อคลิก

ondbclick
เกิดเหตุการณ์เมื่อดับเบิ้ลคลิก

onmousedown
เกิดเหตุการณ์เมื่อคลิกเมาส์ค้าง

onmouseup
เกิดเหตุการณ์เมื่อปล่อยเมาส์บนแท็ก

onmouseover
เกิดเหตุการณ์เมื่อเลื่อนเมาส์มาอยู่บนแท็ก

onmousemove
เกิดเหตุการณ์เมื่อเลื่อนเมาส์ไปมาบนแท็ก

onmouseout
เกิดเหตุการณ์เมื่อเลื่อนเมาส์ออกนอกแท็ก
Keyboard
onkeypress
เกิดเหตุการณ์เมื่อกดและปล่อยปุ่ม

onkeydown
เกิดเหตุการณ์เมื่อกดปุ่ม

onkeyup
เกิดเหตุการณ์เมื่อปล่อยปุ่ม
HTML
onload
เกิดเหตุการณ์เมื่อเปิดหน้าเวบ
frame/object
onunload
เกิดเหตุการณ์เมื่อปิดหน้าเวบหรือเปลี่ยนไปดูหน้าเวบอื่น

onabort
เกิดเหตุการณ์เมื่อหยุดโหลดก่อนโหลดครบ

onerror
เกิดเหตุการณ์เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขณะโหลด

onresize
เกิดเหตุการณ์เมื่อปรับขนาดหน้าเวบ

onscroll
เกิดเหตุการณ์เมื่อเลื่อนหน้าเวบขึ้นลง
HTML
onselect
เกิดเหตุการณ์เมื่อข้อความในออบเจ็ก input, textarea
form
onchange
เกิดเหตุการณ์เมื่อแก้ไขข้อมูลในออบเจ็ก input, select, textarea

onsubmit
เกิดเหตุการณ์ฟอร์ม submit

onreset
เกิดเหตุการณ์ฟอร์ม reset

onfocus
เกิดเหตุการณ์ออบเจ็กได้รับโฟกัส

onblur
เกิดเหตุการณ์ออบเจ็กเสียโฟกัส
หมายเหตุ: โฟกัส (focus) คือ สิ่งที่บอกว่าเรากำลังทำงานกับออบเจ็กใด ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จะมีออบเจ็กที่ได้รับการโฟกัสแค่ 1 ตัวเท่านั้น และออบเจ็กที่สามารถรับการโฟกัสได้มีดังนี้ label, input, select, textarea & button
Update: 10 มค. 12
.........
.........